หน้าหลัก/ภาษาไทย ดูประวัติ

This article is in Thai. For English click here
สำหรับ wiki.waze.com ของประเทศไทยเข้าชมที่นี่ (ภาษาอังกฤษ)

หมายเหตุ : บทความนี้ยังอยู่ระหว่างการแปลและการจัดข้อความให้เหมาะสมกับภาษาไทยและความรู้พื้นฐานของคนไทยต่อถนนรวมทั้งต่อระบบ Waze ขออภัยในความไม่สะดวก

ยินดีต้อนรับสู่ Waze ประเทศไทย!

เรามีฟอรั่มทางการในภาษาอังกฤษ, กลุ่มไม่เป็นทางการเท่าไหร่บนเฟซบุ๊ก, และ กลุ่มขนาดใหญ่ไม่เป็นทางการบนเฟซบุ๊ก

แผนที่ของประเทศไทย ดึงดูดความสนใจของผู้แก้ไขชาวต่างชาติจำนวนมาก ทำให้หน้าหลักของบทความจึงเป็นภาษาอังกฤษ เรากำลังสรรหาผู้คนที่อยู่ในประเทศไทยเพื่อขอความช่วยเหลือ!

การเรดแผนที่ (MapRaid) ในเดือนกันยายน 2558 (ข้อมูลการเรดแผนที่ในประเทศไทย) นั้นประสบความสำเร็จมาก การเรดแผนที่ดังกล่าวเป็นจุดเริ่มต้นของการบริหารจัดการด้วยตัวเองของผู้แก้ไขในประเทศไทย

เข้าร่วมกับชุมชนผู้แก้ไขแผนที่ Waze ประเทศไทย!

ผู้แก้ไขแผนที่ของประเทศไทยใช้ SLACK เป็นเครื่องมือติดต่อสื่อสารหลัก หากคุณต้องการหรือวางแผนที่จะแก้ไขแผนที่ในประเทศ กรุณาเข้าร่วมชุมชนผู้แก้ไขบน SLACK โดยในการสมัครบัญชี SLACK แล้ว กรุณาใช้ชื่อบัญชีของ Waze เป็นชื่อบัญชีเพื่อความสะดวกและง่ายในการพูดคุยสื่อสาร

ลิงก์เพื่อเข้าร่วมชุมชนผู้แก้ไขแผนที่ของประเทศไทยบน SLACK: คลิกที่นี่

การแก้ไขแผนที่

หากคุณมีประสบการณ์ด้านการแก้ไขแผนที่อยู่แล้ว กรุณาอ่านต่อที่นี่เพื่อศึกษาเกี่ยวกับสิ่งที่เราสามารถทำได้ในแผนที่ประเทศไทย

แต่ถ้าคุณเป็นผู้แก้ไขแผนที่มือใหม่ เราแนะนำให้คุณไปชมหน้าต้อนรับของตัวแก้ไขแผนที่ Waze (WME) (ภาษาอังกฤษ) เสียก่อน

โปรดทราบว่าพื้นที่ที่คุณสามารถแก้ไขแผนที่ได้นั้น คือเฉพาะบริเวณที่คุณขับรถผ่านโดยใช้แอพพลิเคชัน "Waze" ในการนำทางด้วยเท่านั้น และพื้นที่ดังกล่าวจะในการแก้ไขของคุณจะหมดอายุลงหลังจากผ่านไป 3 เดือน

แน่นอนว่าคุณต้องการที่จะแก้ไขโดยทันที แต่อย่างน้อยคุณจะต้องเข้าไปชมแนวทางเริ่มต้นอย่างง่ายในการแก้ไขแผนที่ (ภาษาอังกฤษ) เพื่อให้คุณเข้าใจในคุณลักษณะต่าง ๆ ที่มีในตัวแก้ไขแผนที่ Waze รวมทั้งคำอธิบายการใช้งานพวกมันอย่างง่ายก่อน

สำหรับความเข้าใจในเชิงลึกยิ่งขึ้นในการแก้ไขแผนที่ เราแนะนำให้คุณอ่าน หน้าของตัวแก้ไขแผนที่ Waze (ภาษาอังกฤษ)

สำหรับผู้แก้ไขใหม่ คุณย่อมมีแนวโน้มที่จะสร้างความผิดพลาดบางประการกับแผนที่ หากคุณต้องการความช่วยเหลือในการเรียนรู้หรือพบปัญหาใด ๆ หรือไม่แน่ใจว่าจะแก้ไขปัญหาได้อย่างไร โปรดขอความช่วยเหลือจากสมาชิกทีมผู้แก้ไชหรือสมาชิกทีมผู้จัดการชาวไทย เราทุกคนพร้อมช่วยเหลือคุณและมีส่วนร่วมในการแก้ไขแผนที่เพื่อประโยชน์ของทุกคน

คุณสามารถใช้แหล่งข้อมูลดังต่อไปนี้ในการเปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุงแผนที่:

- สตรีทวิวของ Waze (แต่ไม่ได้หมายรวมถึงชื่อถนนที่ปรากฏอยู่บนสตรีทวิว)

- มุมมองผ่านภาพถ่ายดาวเทียม Waze

- อะไรก็ตามที่ถูกสั่งสมมาจากการขับรถด้วยตัวคุณเองในพื้นที่นั้น ๆ

การใช้แหล่งข้อมูลภายนอกอื่น ๆ (ภาษาอังกฤษ) ที่ไม่ได้รับอนุญาตและถูกเขียนอย่างประนีประนอมลงในแผนที่ ซึ่งการไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดอาจส่งผลให้คุณถูกถอดถอนสิทธิ์การแก้ไขแผนที่ได้

เมื่อคุณรู้สึกว่าเข้าใจได้ในคอนเซปพื้นฐานของการแก้ไขแผนที่อย่างเพียงพอแล้ว กรุณาอ่านต่อด้านล่างเพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการแก้ไขแผนที่ได้เลย!

ทั่วไปเกี่ยวกับชื่อ

ชื่อของถนนหรือสถานที่บางครั้งก็มีความไม่ชัดเจน หากไม่แน่ใจควรเว้นว่างไว้ (ทำเครื่องหมายถูกที่กล่อง "none" หรือ "ไม่มี" ที่แถบด้านข้างของตัวแก้ไขแผนที่) แต่คุณจะต้องระบุชื่อเมืองที่สถานที่หรือถนนนั้นตั้งอยู่หากมี เราหวังว่าผู้แก้ไขซึ่งเป็นคนท้องถิ่นจะสามารถช่วยปรับปรุงข้อมูลในส่วนนี้ให้ดีขึ้นได้ โปรดดูหัวข้อ "ชื่อเมือง" สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการค้นหาชื่อเมืองที่ถูกต้อง

คุณสามารถค้นหาชื่อสถานที่และถนนได้มากมายจากการใช้ฟังก์ชัน Street-view บนตัวแก้ไขแผนที่ โดยการดูป้ายต่าง ๆ ซึ่งผู้ขับขี่จะมองเห็นได้

โครงการแผนที่สองภาษา

เป็นเวลาหลายปีที่เราพยายามโน้มน้าวให้สำนักงานใหญ่ของ Waze เล็งเห็นว่าแผนที่ Waze ในประเทศไทยจำเป็นต้องมีภาษาทั้งสองควบคู่กันเพื่อดึงดูดผู้ใช้ อย่างไรก็ตาม การเชิงเทคนิคที่จำเป็นสำหรับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนั้นถือได้ว่ามากเกินไปสำหรับสำนักงานใหญ่ ดังนั้น เราจึงตัดสินใจที่จะจัดการเรื่องนี้เองภายในชุมชน และปรับให้แผนที่นั้นสามารถเป็นระบบสองภาษาควบคู่กับไปได้ทั้ง Wazer ที่ใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

เป้าหมายสูงสุดคือการสร้างแผนที่ที่แสดงชื่อถนนทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และเสียงนำทาง (TTS) ที่พูดเฉพาะภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษขึ้นกับผู้ใช้ตั้งค่าบนแอพพลิเคชัน

หลังจากหลายเดือนที่เราได้ทำการทดสอบบนทางหลวงสายหลักและสายรองจำนวนหนึ่งในกรุงเทพมหานครแล้ว ตอนนี้โครงการได้รับการปรับปรุงไปจนถึงจุดที่สามารถขยายออกไปทั่วกรุงเทพมหานครและปริมณฑลแล้ว หากครบทั่วกรุงเทพมหานครและปริมณฑลแล้วและเราสามารถจัดการกับปัญหาที่พบได้ เราจะขยายโครงการนี้ไปยังจังหวัดอื่น ๆ ต่อไป

รูปแบบการตั้งชื่อแบบสองภาษา

เพื่อให้ระบบนำทางด้วยเสียงแยกแยะความแตกต่างระหว่างสองภาษาได้ เราจำเป็นต้องใช้ "ตัวแบ่ง" เพื่อชี้ให้ระบบเห็นการเริ่มต้นและสิ้นสุดของข้อความที่แตกต่างกัน จากความร่วมมือระหว่างทีมผู้แก้ไขและทีมหลักที่จัดการระบบนำทางด้วยเสียง เราพบว่าตัวแบ่งที่ดีที่สุดที่เราจะใช้ได้คือเครื่องหมายบวก "+"

รูปแบบการกำหนดชื่อถนนแบบสองภาษาจึงเป็น "+_อักษรไทย_+_อักษรภาษาอังกฤษ" โดยที่สัญประกาศ "_" หมายถึง "ช่องว่าง" ระหว่างตัวอักษร

ตัวอย่างเช่น:

  1. + ถนนอ่อนนุช + On Nut Rd
  2. + ถนนลาดกระบัง + Lat Krabang Rd
  3. + ทางพิเศษบูรพาวิถี + Burapha Withi Expressway

คุณจะช่วยเราได้อย่างไร

เรามั่นใจว่าคุณจะเห็นด้วยกับเรา นี่เป็นภารกิจที่ยิ่งใหญ่และต้องใช้ความพยายามเป็นอย่างมากของทีมงานจึงจะประสบความสำเร็จได้

เรามี Google Sheet ที่แบ่งการแก้ไขออกเป็นรายเขตสำหรับทั่วประเทศไทย บนแผนที่เราต้องเพิ่มชื่อของถนนทั้งภาษาไทยและชื่อในอักษรโรมันสำหรับทุกถนน ทีมแก้ไขที่ใช้ภาษาอังกฤษสามารถมีส่วนร่วมได้โดยการป้อนชื่อที่เป็นภาษาอังกฤษหรืออักษรโรมัน และทีมแก้ไขที่ใช้ภาษาไทยสามารถมีส่วนร่วมโดยการเติมชื่อในภาษาไทยของถนน โดยโปรดตรวจสอบว่าชื่อทั้งสองภาษานั้นมีความถูกต้อง เมื่อชื่อถนนมีทั้งสองภาษาแล้ว ผู้แก้ไขใด ๆ สามารถคัดลอกชื่อนั้นออกจาก Sheet ไปเพิ่มลงในแผนที่ได้ โดยระบุดังรูปแบบที่แสดงในด้านบน โดยโปรดตรวจสอบอย่างละเอียดและถี่ถ้วนว่ารูปแบบและชื่อถนนมีความถูกต้องทุกประการ

ลิงก์ไปยัง Google Sheet สำหรับโครงการแผนที่สองภาษา: คลิกที่นี่

หมายเหตุ: โปรดระบุชื่อของคุณกำกับลงไปใน Sheet ทุกครั้งหลังจากที่ได้เปลี่ยนแปลงชื่อถนนเป็นรูปแบบใหม่เรียบร้อยแล้ว

ในขณะที่เรากำลังดำเนินการในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (R5) เป็นหลัก ผู้แก้ไขในภูมิภาคอื่นสามารถเริ่มต้นการระบุชื่อสองภาษาในเขตของต้นได้ เพื่อให้ผู้แก้ไขชาวไทยสามารถไปเพิ่มชื่อภาษาไทยของถนน

พึงระลึกว่า การแก้ไขแบบช้า ๆ ด้วยความใส่ใจในรายละเอียดถือเป็นสิ่งจำเป็นยิ่งในการสร้างแผนที่ที่ดีที่สุดสำหรับทุกคน โครงการนี้จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่ออนาคตของ Waze ในประเทศไทย ดังนั้นเราจึงต้องเน้นคุณภาพใช่ปริมาณไม่

และเช่นเคย หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับแง่มุมใด ๆ ของโครงนี้หรือโครงการอื่น ๆ โปรดสอบถามสมาชิกอาวุโสของทีมแก้ไชทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติหรือสมาชิกทีมผู้จัดการ เราทุกคนอยู่ในทีมเดียวกันและยินดีที่จะช่วยเหลือคุณในการเรียนรู้ เพื่อให้คุณสามารถมีส่วนร่วมในความสำเร็จของ Waze ประเทศไทยได้มากขึ้น

ภาษาอังกฤษในชื่อ

เราควรพยายามใช้ชื่อที่ปรากฏอยู่ป้ายชื่อถนนในกรณีที่มีป้ายพร้อมอักษรโรมัน นั่นจะทำให้เรามั่นใจได้ว่าการนำทางที่ปรากฏบน Waze จะตรงกับที่ผู้ขับขี่เห็น ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงความสับสนที่อาจเกิดขึ้นและนำไปสู่อุบัติเหตุหรือการเลี้ยวผิด

ปัจจุบันแผนที่บน Waze ยังใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก เนื่องจากจำนวนของผู้แก้ไขซึ่งเป็นชาวต่างชาตินั้นยังคงมีจำนวนมากกว่าและมีความเคลื่อนไหวมากกว่าผู้แก้ไขชาวไทยอย่างมีนัยสำคัญ ดังนั่น ระบบการตั้งชื่อถนนหรือสถานที่จึงควรเป็นภาษาอังกฤษหรือทั้งสอง (ดูเพิ่มที่ "โครงการแผนที่สองภาษา") สำหรับการระบุชื่อถนนหรือสถานที่หากไม่มีการระบุอักษรโรมันกำกับไว้ใต้ภาษาไทย ให้ถอดชื่อภาษาไทยนั้นเป็นอักษรโรมันตาม การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียงของราชบัณฑิตยสถาน

ชื่อเมือง

ปัจจุบันมีรูปแบบมาตรฐานสำหรับการตั้งชื่อเมืองในประเทศอยู่ 2 แบบ ได้แก่ สำหรับกรุงเทพมหานคร และสำหรับจังหวัดอื่น ทั้งนี้เนื่องจากกรุงเทพมหานครมีความหนาแน่นสูงและเพื่อไม่ให้แผนที่รก

หมายเหตุ: ทุกส่วนที่อยู่ภายในขอบเขตของเมือง ควรได้รับการระบุชื่อเมือง เว้นแต่ทะเลสาบ อ่างเก็บน้ำ ทางรถไฟ และแม่น้ำ และหากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับเขตปกครองให้ทำเครื่องหมายที่ช่อง "none" หรือ "ไม่มี"

ตัวอย่างป้ายแสดงชื่อหมู่บ้านในต่างจังหวัด

ชื่อเมืองมาตรฐานสำหรับต่างจังหวัด - แบบสองภาษา

รูปแบบชื่อเมืองมาตรฐานที่ใช้ทั่วประเทศ (เว้นกรุงเทพมหานครและบางเขตปริมณฑล) โดยให้มีทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทยในชื่อดังนี้ "ชื่อตำบลแบบอักษรโรมัน ชื่อตำบลแบบอักษรไทย - ชื่ออำเภอแบบอักษรโรมัน (ชื่อจังหวัดแบบอักษรโรมัน)" ตัวอย่างเช่น

  • “Bang Sai Yai ตำบล บางทรายใหญ่ - Mueang Mukdahan (Mukdahan)” สำหรับพื้นที่ตำบลบางทรายใหญ่ อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร

หมายเหตุ: จะต้องมีการเว้นวรรคก่อนและหลังอักษรไทย หากพบชื่อเมืองที่ไม่ถูกต้องตามรูปแบบดังกล่าวหรือไม่พบชื่อเมือง โปรดติดต่อสมาชิกของทีมผู้จัดการประเทศ (CM) ของประเทศไทยเพื่อดำเนินการ

ชื่อเมืองมาตรฐานสำหรับกรุงเทพมหานครและบางเขตปริมณฑล - แบบสองภาษา

เพื่อป้องกันไม่ให้แผนที่รกจนเกินไปเนื่องจากความหนาแน่นของเขตปกครองในกรุงเทพมหานคร จึงไม่ได้ใช้เขตปกครองในระดับเดียวกับต่างจังหวัด (ตำบล-แขวง) และใช้เฉพาะระดับเขตแทน ดังนี้ "ชื่อเขตแบบอักษรโรมัน ชื่อเขตแบบอักษรไทย, Bangkok" ดัวอย่างเช่น

  • “Prawet ประเวศ, Bangkok” สำหรับพื้นที่เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร

หมายเหตุ: จะต้องมีการเว้นวรรคก่อนและหลังอักษรไทยและอักษรละติน

เครื่องมือที่มีประโยชน์สำหรับชื่อเมือง

  1. WME Color Highlights เป็นสคริปต์ที่ช่วยเน้นสีของทุกส่วนและพื้นที่ภายในเมืองนั้น ใช้เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของการตั้งชื่อ สามารถเข้าถึงได้ที่: https://greasyfork.org/en/scripts/3206-wme-color-highlights
  2. Google แผนที่ Google แผนที่/Maps สามารถใช้เพื่อ "ตรวจสอบ" ขอบเขตเมืองได้ อย่างไรก็ตาม การใช้ข้อมูลจาก Google แผนที่ (ชื่อถนน ชื่อเมือง ชื่อสถานที่ ฯลฯ) นั้นไม่สามารถทำได้ไม่ว่าในกรณีใด ๆ การละเมิดข้อกำหนดนี้จะส่งผลให้สิทธิ์การแก้ไขแผนที่ถูกเพิกถอนได้

หากคุณต้องการความช่วยเหลือหรือมีคำถามเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือใด ๆ โปรดติดต่อผู้คนในชุมชน Waze และขอความช่วยเหลือ

ชื่อเมืองเกินขอบเขต

ชื่อเมืองเกินขอบเขตหรือการเปรอะเปื้อนของเมือง (City smudging) เกิดขึ้นเมื่อถนนถูกกำหนดด้วยชื่อเมืองที่อยู่ไกลเกินขอบเขตที่แท้จริงของเมือง สาเหตุส่วนใหญ่มักเกิดจากการที่ผู้แก้ไขแผนที่เลือกใช้ชื่อเมืองอัตโนมัติที่ระบบระบุมาให้ ซึ่งมักจะไม่ถูกต้อง ดังนั้น ผู้แก้ไขควรใช้ชื่อเมืองตามขอบเขตที่แท้จริงของเมืองเสมอโดยไม่ต้องสนใจชื่อเมืองที่ระบบเลือกมาให้

ตัวอย่างของเหตุการณ์ชื่อเมืองเกินขอบเขต:

ปรากฏชื่อตำบลของจังหวัดบุรีรัมย์ในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต


ตัวอย่างของชื่อเมืองที่มีการแบ่งอย่างเหมาะสม:

ส่วนถนนที่มีเส้นทางยาวข้ามเขตของเมือง ควรมีการแบ่งถนนตามขอบเขตที่ถูกต้องเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ข้างต้นได้ และขณะเลือกชื่อเมืองก็ควรตรวจสอบว่าชื่อเมืองนั้นมีความถูกต้องเช่นกัน

สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ City smudging และวิธีในการจัดการกับปัญหาดังกล่าวสามารถดูเพิ่มเติมได้ที่ Smudged Cities (ภาษาอังกฤษ)

ถนน

  • ประเทศไทยขับรถโดยยึดระบบมือซ้าย (Left hand traffic; LHD) เป็นมาตรฐาน
  • ภาพถ่ายจากดาวเทียมบางภาพอาจมีการเคลื่อนเมื่อเวลาผ่านไปและเมื่อมีการปรับมุมมองของดาวเทียม ดังนั้น เมื่อพบพื้นที่ที่มีการเปลี่ยนแปลงโดยจัดถนนให้อยู่ตรงกลางอีกครั้งในมุมมองดาวเทียมปัจจุบันด้วยความระมัดระวัง และตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีการซูมแผนที่อย่างน้อยในระดับ 8 สำหรับถนนใหม่ที่ยังไม่มีการอัพเดทมุมมองดาวเทียม กรุณาใช้ WME GPS เพื่อให้แน่ใจว่าถนนอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง โดยจะสามารถอัพเดทและจัดตำแหน่งใหม่ได้อีกครั้งเมื่อมีการอัพเดทมุมมองดาวเทียม

ชื่อถนน (อักษรโรมัน+ภาษาอังกฤษ)

ชื่อถนนจะต้องตรงกับป้าย หากไม่มีป้ายชื่อถนนจะต้องทำเครื่องหมายถูกที่กล่อง "None" หรือ "ไม่มี"

เทพารักษ์ 106 และชื่ออื่น ๆ
  • Trok หรือ Thanon ซึ่งมักถูกถอดเป็นอักษรโรมันอยู่ในชื่อ ให้ลบออกและใส่ "Rd" ลงไปหลังจากชื่อถนนแทน (โดยไม่ใส่มหัพภาค "." หลังคำว่า Rd) เช่น "ถนนพระราม 9" จะถูกถอดเป็นโรมันเป็น "Thanon Rama 9" ให้ใช้ "Rama 9 Rd" แทน
  • Soi ให้ใส่เฉพาะป้ายที่ปรากฏคำว่า ซอย/Soi เท่านั้น หากป้ายไม่ได้ระบุให้ละไว้ เช่น

- ซอย 106 ของถนนเทพารักษ์ ในป้ายระบุเป็น เทพารักษ์ 106 ดังนั้นจึงให้ใส่ชื่อเป็น เทพารักษ์ 106 / Thepharak 106

เฉลิมพระเกียรติ ร.๙ ซอย 22

- ซอย 22 ของถนนเฉลิมพระเกียรติ ร.๙ ในป้ายระบุเป็น เฉลิมพระเกียรติ ร.๙ ซอย 22 ดังนั้นจึงให้ใส่ชื่อเป็น เฉลิมพระเกียรติ ร.๙ ซอย 22 / Chaloem Phrakiat Ratchakan Thi 9 Soi 22

- ชื่อซอยที่เป็นชื่อเก่าหรือชื่ออื่นซึ่งมักระบุไว้ในวงเล็บ มักไม่เกี่ยวข้องกับชื่อหลัก ให้ใส่ในส่วนของชื่ออื่น หรือ alternative name เช่น เทพารักษ์ 106 มีชื่ออื่นว่า ซอยเทพานิเวศน์ 2 ให้ใส่เป็น ซอยเทพานิเวศน์ 2 / Soi Thephaniwet 2

ทางหลวง

ทางหลวงทุกสายในประเทศไทยจะมีหมายเลขกำกับอยู่ โดยจำนวนหลักเป็นตัวกำหนดบทบาทของทางหลวงเส้นนั้น

การตั้งชื่อ

เราต้องตั้งชื่อทางหลวงให้ตรงกับป้ายที่ผู้ขับขี่จะมองเห็นได้ หลักการตั้งชื่อโดยทั่วไปคือใช้คำว่า Hwy ตามด้วยหมายเลขทางหลวง (เช่น Hwy 4029) บางพื้นที่ ทางหลวงเหล่านี้อาจมีชื่อท้องถิ่น หากคุณทราบชื่อเหล่านั้น และมั่นใจจุดเริ่มต้นและสิ้นสุดของชื่อ อาจเพิ่มชื่อดังกล่าวลงในวงเล็บท้ายชื่อได้ เช่น Hwy 3344 (Srinagarindra Rd) หากไม่มั่นใจอาจใส่ลงในส่วนชื่ออื่นได้

ทางหลวงหลายสายยังเป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงสายเอเชีย (AH) โดยอาจใส่รหัสเส้นทางหลวงเอเชียลงในชื่ออื่นได้แต่ไม่ให้ใส่ในชื่อหลัก

มอเตอร์เวย์และทางด่วน

ตัวอย่างป้ายทางหลวงชนบท

มอเตอร์เวย์จะมีทั้งชื่อและรหัสเส้นทาง ขณะที่ทางด่วนจะมีเฉพาะชื่อเท่านั้น สำหรับทางด่วนให้ตั้งชื่อตามชื่อทางการ ส่วนมอเตอร์เวย์ให้ตั้งชื่อเป็นหมายเลขเส้นทางและตามด้วยชื่อ (ถ้ามี) ตัวอย่างเช่น “Route 7, Bangkok - Chonburi Motorway”, “Route 9, Bangkok Outer-Ring Rd (East)”, และ “Si Rat Expressway”

ทางหลวงชนบท

ทางหลวงชนบทเป็นทางหลวงที่บริหารโดยส่วนท้องถิ่น โดยการตั้งชื่อ ให้ระบุตัวย่อของจังหวัดสองตัวหน้าหมายเลขทางหลวง เช่น "Rural Rd ปท 3022" ข้อควรระวังคือเส้นทางเหล่านี้อาจผ่านหลายจังหวัดดังนั้นโปรดตรวจสอบขอบเขตเส้นทางให้ดี

จำนวนหลัก ระดับของ Waze จำกัดการแก้ไขที่เลเวล ตัวอย่างถนน
1  ทางเชื่อมเมือง  L5 Hwy 1 (ถนนพหลโยธิน)
2  ทางเชื่อมเมือง  L5 Hwy 36
3  ทางหลวงสายหลัก  L4 Hwy 305
Hwy 407 (ถนนกาญจนวนิช)
4 และ 5  ทางหลวงสายรอง  L3 Rural Rd 4027
Hwy 2085 (ถนนปุณณกัณฑ์)
มอเตอร์เวย์  ทางเชื่อมเมือง  L5 Chonburi Motorway Hwy 7
Motorway Hwy 9
ทางพิเศษ  ทางเชื่อมเมือง  (มีค่าธรรมเนียม) L5 Si Rat Expressway

ทางเชื่อม

 ทางเชื่อม  เป็นทางเข้าหรือออกจากทางเชื่อมเมืองและทางหลวง ให้ล็อกไว้ที่ L2, L3, L4 หรือ L5 (เท่ากับระดับการล็อกสูงสุดบนส่วนที่เชื่อมต่ออยู่)

และตั้งชื่อว่า "to (ระบุปลายทาง)"

ถนนหลัก

 ถนนหลัก  ล็อกไว้ที่ L2 เป็นถนนหลักหรือทางหลักของหมู่บ้านหรือเมือง เช่น

  • ถนนเจริญนคร
  • ถนนจันทน์
  • ถนนพระรามที่ ๓

ถนนยาวที่อยู่นอกเมืองควรจัดให้เป็นถนนหลักเพื่อช่วยในเรื่องการหาเส้นทาง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าเป็นถนนหลักที่ใช้สัญจรเข้าสู่หมู่บ้าน

ถนน

 ถนน  ซอยหรือตรอก ถนนในจังหวัดที่ไม่เข้าเกณฑ์ของถนนหลัก

ถนนออฟโรด / ถนนไม่ได้รับการบำรุง (เดิม ถนนลูกรัง (4x4) )

 ออฟโรด  ถนนที่มีลักษณะทางกายภาพไม่สามารถใช้สัญจรได้โดยรถยนต์ปกติ (รถเก๋ง) และควรหลีกเลี่ยงถ้าเป็นไปได้ เช่น ถนนที่ต้องขับผ่านลำห้วยเล็ก ๆ, ถนนที่เป็นหลุมเป็นบ่ออย่างมาก หรือถนนที่มีความกว้างน้อยเกินกว่าที่รถยนต์หนึ่งคันจะใช้วิ่งได้

ถนนทั่วไปที่ไม่ได้มีการปรับพื้นถนน แต่ใช้สัญจรได้ปกตื ควรให้ปรากฏในแผนที่เป็น ถนน ซึ่งจะทำให้ถูกใช้ในการรำทาง

ถนนส่วนบุคคล

 ถนนส่วนบุคคล  เป็นถนนที่มุ่งตรงสู่บ้านหลังเดี่ยว หรือถนนไม่สาธารณะซึ่งเป็นถนนของบริษัทห้างร้าน หรือชุมชนหมู่บ้าน

ถนนลานจอดรถ

 ถนนลานจอดรถ  และลานจอดรถขนาดใหญ่ เช่น ลานจอดของห้างสรรพสินค้า ทั้งนี้ไม่จำเป็นต้องวาดถนนลักษณะนี้ทุกเลนของที่จอด และสามารถใส่ชื่อเมืองโดยละชื่อถนนได้ (โดยการเลือกที่กล่อง "None/ไม่มี" ที่ด้านบนชื่อส่วน Name/ชื่อ)

ถนนบริการสามารถกำหนดเป็นถนนลานจอดรถได้เช่นกัน เช่น ถนนที่เชื่อมระหว่างถนนเส้นใน (Frontage Roads) กับปั๊มน้ำมัน และร้านค้าตามแนวฟรีเวย์

ทางรถไฟ

 |-|-|-|-|-|-|-|-|-| ทางรถไฟ |-|-|-|-|-|-|-|-|-| 

  • ไม่ต้องระบุเมือง
  • การระบุชื่อ หากเป็นทางรถไฟของการรถไฟแห่งประเทศไทย ให้ระบุเป็น "Thai Railway" หากเป็นทางรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน ให้ระบุชื่อของสายทางการ เช่น "MRT Blue Line" หรือ "BTS Sukhumvit Line"
  • ทิศทางกำหนดเป็นทั้งสองทิศทาง
  • ความสูงกำหนดตามความสูงจริง
  • ระดับการล็อก L5

หลักกิโลเมตรบนสตรีทวิว

สถานการณ์พิเศษบนถนน

จุดกลับรถ

บนทางเชื่อมเมือง (Freeways) หรือทางหลวง (Highways) มักมีการแบ่งเลนถนนขาเข้าและขาออกแยกออกจากกัน จึงมักมีการสร้างจุดกลับรถเอาไว้ สามารถสังเกตได้จากทั้งป้ายสัญลักษณ์กลับรถ และลูกศรแสดงทิศทางการกลับรถบริเวณผิวการจราจร

Prohibited for trucks with more than 6 wheels

บางจุดกลับรถมีการห้ามรถบรรทุกใช้ ซึ่งจะปรากฏสัญลักษณ์ห้ามกลับรถพร้อมข้อความปรากฏอยู่ด้านล่าง

บนถนนขนาดเล็ก อาจไม่มีการกำหนดจุดกลับรถขึ้น ซึ่งหากไม่มีป้ายห้ามกลับรถปรากฏอยู่ จะถือว่าสามารถกลับรถได้อย่างทั่วไปในถนนขนาดเล็กนี้

เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าคำแนะนำการขับรถนั้นเหมาะสม จึงมีตัวเลือกการสร้างจุดกลับรถขึ้นมากมาย โดยสามารถดูบทความหลักได้ที่ การสร้างจุดกลับรถ

ถนนคู่ขนาน

ถนนเลียบคลอง

ถนนแยกเลน

สถานที่

ศึกษาใน ไกด์ไลน์ทั่วไป (ภาษาอังกฤษ) สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

ปัญหาแนวชายฝั่ง

ส่วนของแผนที่จำนวนมากซึ่งเป็นแผ่นดินยังคงปรากฏเป็นพื้นน้ำ ปัญหานี้พบบนแอพพลิเคชันและ Livemap ปัญหาเหล่านี้ควรได้รับการแก้ไขโดยศูนย์บัญชาการ Waze แต่ระดับความสำคัญของปัญหาลักษณะอยู่ในระดับต่ำ เราสามารถแก้ไขปัญหา 'ชายฝั่ง' นี้ได้ด้วยตัวเอง โดยการสร้างสถานที่ประเภทเกาะขึ้นมาครอบคลุมส่วนที่เป็นปัญหา หลังจากสร้างพื้นที่ประเภทเกาะแล้ว กรุณรอจนกว่าจะปรากฏบน livemap และปรับแก้รูปร่างจนกว่าจะสมบูรณ์แบบ ทั้งนี้ห้ามตั้งชื่อให้กับเกาะเด็ดขาด ให้ใส่คำอธิบาย เช่น "coastline problem" ลงไปในกล่อง คำอธิบาย/description แทน จากนั้นให้ติดต่อผู้เกี่ยวข้องเพื่อล็อกเกาะนั้นเป็นระดับ 5

ชื่อสถานที่

ชื่อหลักของสถานที่ควรเป็นชื่อฉบับถอดเป็นอักษรโรมันของภาษาไทย หากสถานที่มีชื่อภาษาอังกฤษให้ใส่ชื่อภาษาอังกฤษ ส่วนชื่อภาษาไทยให้ใส่ในชื่ออื่น ๆ

ที่อยู่

ที่อยู่แบบไทยมีรายละเอียดจำนวนมากที่ไม่สามารถนำมาปรับใช้กับขอบเขตข้อมูลของ WME ได้ง่ายนัก ดังนั้น ให้เพิ่มชื่อเมืองและถนนตามปกติ แต่ขณะนี้ ที่อยู่เต็มของสถานที่ (หากทราบ) สามารถระบุไว้ในกล่อง "คำอธิบาย/description"

จุด vs สถานที่

ประเทศไทยนั้นแตกต่างกับมาตรฐานโลก เมื่อพูดถึงการใช้สถานที่ที่เป็นพื้นที่ (area places) และสถานที่ที่เป็นจุด (point places) เนื่องจากถนนจำนวนมากนั้นไม่มีชื่อ หรือป้ายบอกชื่อ (ทั้งในความเป็นจริงและใน Waze) แลนด์มาร์กสำคัญใด ๆ ที่สามารถเข้าถึงให้สร้างเป็นสถานที่ที่เป็นพื้นที่ (area places) เพื่อช่วยในการนำทางจริง สถานที่ดังกล่าวนั้น อาจเป็น วัด, โรงเรียน, สำนักงานของหน่วยงานรัฐ หรือ หน่วยงานธุรกิจใด ๆ ที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน ส่วนสถานที่ที่เป็นจุด (point places) อาจไม่มีความจำเป็นในเขตชุมชนเมือง หรือพื้นที่ที่มีการระบุเป็นอย่างดี จึงควรใช้วิจารณญาณที่ดีที่สุดในการตัดสินใจว่าเมื่อใดจึงควรใช้สถานที่แบบใด

โดยทั่วไป สถานที่เหล่านี้ควรจะต้องชื่อทุกครั้งที่ทำได้ คำที่บ่งชื่อทั่วไป เช่น "School" หรือ "Temple" อาจถูกนำมาใช้ในพื้นที่ชนบท เมื่อไม่ทราบชื่อสถานที่นั้น เพื่อช่วยในการนำทาง

โปรดระลึกไว้ว่า Waze จะไม่เรนเดอร์สถานที่ที่เป็นพื้นที่ขนาดเล็ก โดยข้อจำกัดของขนาดที่แน่นอนนั้นยังไม่มีการนิยาม แต่ในขณะที่เขียน สถานที่ที่จะปรากฏต้องมีขนาดอย่างน้อย 25 เมตร x 35 เมตร เพื่อให้ปรากฏให้เห็นได้บนแอพ ส่วนแลนด์มาร์กสำคัญอาจมีการวาดขนาดใหญ่กว่าขนาดจริงเพื่อให้สามารถมองเห็นได้บนแอพ

สถานที่ตามธรรมชาติ

สถานที่ที่เป็นจุด

บริเวณลานจอดรถ

ตัวอย่าง

เลเวล สิทธิ ฯลฯ

หากคุณไม่สามารถแก้ไขบางอย่างได้ นั่นเป็นเพราะมันถูกล็อกอยู่ ไปตั้งกระทู้ร้องขอปลดล็อกได้ที่นี้ (ควรตั้งกระทู้เป็นภาษาอังกฤษเพื่อให้ผู้ที่มีสิทธิ์ปลดล็อกที่ไม่ได้ใช้ภาษาไทยสามารถดำเนินการได้ด้วย) ก่อนที่คุณจะเริ่มทำงานบนทางแยกหรือวงเวียน กรุณาอย่าลืมตรวจสอบเลเวลของส่วนที่เชื่อมต่ออยู่ทั้งหมดเสียก่อน เพื่อให้มั่นใจได้ว่าคุณจะสามารถแก้ไขได้โดยไม่มีอุปสรรค์

ในพื้นที่ใดที่ส่วนมากนั้นอยู่ภายใต้การก่อสร้าง การล็อกตามระดับปกติในพื้นที่ดังกล่าวนั้นไม่จำเป็น และทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือได้

A stubbed road

หากคุณยืนกรานที่จะล็อกถนนที่ยังสร้างไม่เสร็จ ลองทำการ stubbing การ stubbing เป็นการสร้างส่วนสั้น ๆ ซึ่งใช้การล็อกระดับต่ำแยกออกมาจากถนนที่มีอยู่ ซึ่งส่วนดังกล่าวผู้แก้ไขเลเวลน้อยสามารถเข้าถึงส่วนนั้นได้

หากต้องการเป็นผู้จัดการพื้นที่ (area manager) กรุณากรอกแบบฟอร์ม: แบบฟอร์มสมัคร AM เมื่อส่งแล้ว คุณจะได้รับคำเชิญให้เข้าร่วมใน Thailand channel ที่ Waze Slack

คณะผู้จัดการปัจจุบัน

คณะผู้จัดการส่วนประเทศ (Country managers: CM)

ปัจจุบันคณะผู้จัดการส่วนประเทศ Waze Thailand มี ดังนี้

  • Orbit
  • Shmupi
  • Dutchdirt (คุณปีเตอร์) (ผู้ประสานงานประเทศ/Country Coordinator)
  • HandOfMadness (คุณชอว์น)
  • Sorin100
  • machete808 (คุณวิกกี)
  • fermario73 (คุณเฟร์นันโด)
  • Nacron
  • RIMAJUES (คุณริเวโร)
  • sstuff3 (คุณสก็อต)
  • nttee

คณะผู้จัดการส่วนภูมิภาค (Region managers: RM)

ปัจจุบัน Waze Thailand มีคณะผู้จัดการส่วนภูมิภาคจำนวน 24 คน โดยบางส่วนเป็นคณะผู้จัดการส่วนประเทศด้วย ดังนี้

# ภูมิภาค RM
1 เชียงใหม่ fermario73, Walter-Bravo
2 พิษณุโลก Bertzzzz, sodastudio
3 อุดรธานี machete808, Isaan-Cowboy
4 กาญจนบุรี eLoneX, mvanbaal, S_Weerasak
5 กรุงเทพมหานคร Dutchdirt, Nacron, iluvstlucia, RIMAJUES, sstuff3, mclarenhondamcl32, nttee
6 พัทยา okrauss, Kirize14
7 ตราด fernandoanguita, TagGabriel
8 สุราษฎร์ธานี Handofmadness, Rfrsw101, jchiarav
9 หาดใหญ่